เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๓๐ น. บัณฑิตวิทยาลัยได้จัดโครงการส่งเสริมกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภายใต้หัวข้อเรื่อง “ภูมิปัญญาวิถีพุทธสู่สังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง” เพื่อเป็นการสืบทอดและอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นให้คนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง เป็นการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายองค์กรด้านการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม เพื่อรักษาดุลยภาพในการพัฒนาสังคมไทยสานสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายของนิสิตที่สำเร็จการศึกษาออกไปสู่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ ๔ ประการ คือ ๑. เพื่อเป็นการปลูกฝังภูมิปัญญาวิถีพุทธของท้องถิ่นให้คนรุ่นหลังให้ยั่งยืน ๒. เพื่อให้นิสิตได้สืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามและแสดงออกถึงภูมิปัญญาวิถีพุทธของท้องถิ่น ๓. เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างบัณฑิตวิทยาลัยทุกสาขาวิชาได้ส่งเสริมและถ่ายทอดภูมิปัญญาวิถีพุทธกับชุมชนท้องถิ่นให้ยั่งยืน ๔. เพื่อกระตุ้นให้นิสิตตื่นตัวและมีความภูมิใจในภูมิปัญญาวิถีพุทธของตนเอง เป็นการจัดกิจกรรม (ออนไลน์) ที่ให้ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิต และผู้ที่สนใจเข้าร่วม ได้แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดเพื่อรักษาภูมิปัญญาวิถีพุทธ โดยเฉพาะชุมชน ต.โพธิ์สามต้น อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยธยา เพื่อที่จะตระหนักถึงการหวนแหนศิลปวัฒนธรรมเพื่อให้ไว้สำหรับคนรุ่นหลัง
โดยประยุกต์จัดเสวนาแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom มีพระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร,รศ.ดร. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดและให้โอวาท ผศ.ดร.บุญเลิศ โอฐสู ผู้อำนวยหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมนิเทศ กล่าวถวายรายงานวัตถุประสงค์โครงการฯ
ในช่วงภาคเช้า โดยมี นายนิรุตต์ โลหะรังสี มัคคุเทสก์ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ (สุดยอดแฟนพันธุ์แท้ประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา ๔ สมัยซ้อน) บรรยายพิเศษ เรื่อง “อยุธยายศยิ่งฟ้า : พุทธศิลป์แสงธรรมแห่งปัญญา” อาจารย์ ดร.รุจี ตันติอัศวโยธี อาจารย์พิเศษบัณฑิตวิทยาลัย ร่วมเสวนา
ในช่วงภาคบ่าย โดยมี ดร.ประสิทธิ์ บุตรศรี ประธานชมรมส่งเสริมวัฒนธรรมไทยนานาชาติ บรรยายพิเศษ เรื่อง “ดนตรีสื่อธรรม : วัฒนธรรมอยุธยาดีงามเพิ่มทวี ศีล สมาธิ ปัญญา” และ นายสวย สิริปริญญา รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรยายพิเศษ เรื่อง “เมืองคนดีศรีอยุธยาอุดมด้วยวัฒนธรรมปัญญา” มีพระศรีธรรมภาณี,ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร/รก.ผอ.สำนักงานพระสอนศีลธรรม/อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ร่วมเสวนา และอาจารย์ ดร.ปณัชญา ลีลายุทธ อาจารย์พิเศษบัณฑิตวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินรายการตลอดงาน
ในโครงการนี้ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญเลิศ โอฐสู ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมนิเทศเป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ มีผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ทุกหลักสูตรฯ เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการโครงการฯ และ มีดร.กรรณิกา ขาวเงิน อาจารย์พิเศษบัณฑิตวิทยาลัย ควบคุมดูแลระบบออนไลน์ โปรแกรม Zoom พระมหาเทวินทร์ วรปญฺโญ นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาพระพุทธศาสนา นางศิริพร แกล้วทนงค์ นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาธรรมนิเทศ เป็นทีมช่วยเหลือระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom และ อาจารย์ ดร.กนกวรรณ กรุณาฤทธิโยธิน อาจารย์พิเศษบัณฑิตวิทยาลัย บันทึกภาพและเสียง มีผู้เข้าร่วมจำนวน ๗๑๘ รูป/คน
สรุปผลของโครงการฯ นี้ เป็นไปตามตัวชี้วัดด้านผลผลิต คือมีผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิตและประชาชนทั่วไปได้ให้ความสนใจเข้าร่วมสืบทอด ได้แสดงออกและพร้อมที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาวิถีพุทธของท้องถิ่น(ผ่านระบบออนไลน์ โปรแกรม Zoom) จำนวน ๗๑๘ รูป/คน และผลลัพธ์ คือร้อยละ ๘๐ ของผู้ร่วมงานมีความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของท้องถิ่นโดยเฉพาะชุมชน ต.โพธิ์สามต้น อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยธยา (เป็นการนำร่อง) พร้อมที่จะหวงแหนไว้ให้ลูกหลานในอนาคตต่อไป (ผ่านระบบออนไลน์ โปรแกรม Zoom)
ข้อมูลภาพ : ดร.อุดม จันทิมา นักวิชาการศึกษาชำนาญการบัณฑิตวิทยาลัย