Home
ข่าวกิจกรรม บัณฑิตวิทยาลัยร่วมกับวิทยาเขตนครราชสีมาและมหาวิทยาลัยเครือข่ายจัดสัมมนาวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
วันนี้ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมกับวิทยาเขตนครราชสีมาและมหาวิทยาลัยเครือข่ายอีก ๑๒ สถาบันคือ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยพายัพ, มหาวิทยาลัยราขภัฎพระนคร, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์,มหาวิทยาลัยราชภาคย์, University of Delhi, Aligarh Muslim University, India, และ University of Colombo, Sri Lanka จัดสัมมนาวิชาการระดับชาติครั้งที่ ๘ และระดับนานาชาติ ครั้งที่ ๗ ขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก “ความดี ความงาม ความจริง: การไตร่ตรอง และการตีความร่วมสมัย (Goodness, Beauty and Truth: Contemporary Reflections and Interpretations)” ผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting โดยในเวลา ๐๙.๐๐ น. พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร,รศ.ดร. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยได้รับมอบหมายจาก พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดีให้เป็นประธานในการเปิดสัมมนาและปาฐกถานำรวมถึงกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมเสนอบทความและผู้เข้าร่วมฟังการสัมมนาทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ก่อนหน้านี้พระเทพสีมาภรณ์ รองอธิการบดีวิทยาเขตนครราชสีมา ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนาเช่นกัน มีพระมหาพรชัย สิริวโร,ผศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาปรัชญา ประธานคณะทำงานจัดสัมมนา กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนา
รายการสัมมนาประกอบด้วย ภาคเช้า การบรรยายพิเศษเรื่อง “การสร้างจารีตทางปรัชญาในสำนักมหาจุฬาฯ” โดย ศ.ดร.สมภาร พรมทา
ภาคบ่าย ปาฐกถาพิเศษ ภาคภาษาอังกฤษเรื่อง “Goodness, Beauty and Truth: Contemporary Reflections and Interpretations” โดยพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. อุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และการเสวนาภาคภาษาอังกฤษ โดยวิทยากร ประกอบด้วย รศ.ดร.มารค ตามไท จากมหาวิทยาลัย บูรพา Prof.Dr. Asanga Tilakaratne จากมหาวิทยาลัยโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา และ Assoc.Prof.Dr.Armir Riyaz จาก Department of Philosophy, Aligarh Muslim University,Aligarh, Uttar Pradesh, India ดำเนินรายการโดย ดร.ไข่มุก เหล่าพิพัฒนา อาจารย์พิเศษสาขาวิชาปรัชญาบัณฑิตวิทยาลัย มจร
วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันที่สองของการสัมมนา เป็นการนำเสนอบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษของนักวิชาการ และนิสิตนักศึกษาที่ลงทะเบียนเข้าร่วมจำนวนกว่า ๕๐ บทความ และมีผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้เชิญมาให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่ผู้เสนอบทความ
รายการสัมมนานี้ มีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนากว่า ๕๐๐ รูป/คน