วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๘ พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ. ดร. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ได้รับนิมนต์จากมหาวิทยาลัยคิวซู Kyushu University ให้ไปนำเสนอการทำงานภายใต้โครงการพระธรรมจาริกและพระบัณฑิตอาสาของมหาจุฬา ในงานสัมมนาวิชาการ The 1st International symposium of the Experimental Cultural Psychology Research Core (ECP-RC) โครงการดังกล่าว เป็นโครงการความร่วมมือของมหาวิทยาลัยคิวซู และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าธนบุรี และ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ที่ให้ความสนใจกับการศึกษาในเชิง Social Lap ทางสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา ซึ่งเขาเน้นการศึกษาวิจัยเชิงลึก เช่น กลุ่มมลาบรี หรือผีตองเหลือง ในจังหวัดน่าน การเกษตรกรบนพื้นที่สูง การสาธารณสุข และความหลากหลายทางชีวภาพ
ทางคณะผู้จัดการสัมมนา เห็นว่า โครงการพระธรรมจาริก และโครงการบัณฑิตอาสาของมหาจุฬา (วิทยาเขตเชียงใหม่) มีเป้าหมายเดียวกัน คือ การยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง จึงได้นิมนต์ร่วมนำเสนองานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน และหารือในการวิจัย/ความร่วมมือในอนาคต
จากการสัมมนานี้ เห็นได้ชัดเจนว่า งานวิจัยระดับนานาชาติ ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ไปไกลมาก เน้นวิจัยทดลอง/เชิงปฏิบัติการ (Action Research) ค้นหาข้อเท็จจริง ระดมสมอง มองปัญหา สาเหตุ และลงมือทำอย่างสร้างสรรค์และระมัดระวัง เพื่อไปสู่การพัฒนาอย่างแท้จริง
